วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ดอกปักษาสวรรค์




ปักษาสวรรค์มีใบเป็นใบเดี่ยว รูปหอกแกมขอบขนาน คล้ายใบกล้วย ปลายใบแหลม โคนมนถึงสอบ ขอบเรียบกว้าง 10 - 15 ซม. ยาว 30 - 60 ซม. ก้านใบยาว 30 -60 ซม. บริเวณช่วงต่อกับแผ่นใบกลมมน โคนก้านใบแผ่แบนเป็นกาบโอบรอบต้น
จะเริ่มให้ดอกเมื่ออายุ 3 - 6 ปี ดอกมีรูปทรงคล้ายนกที่กำลังกางปีก อาจจะออกเป็นดอกเดี่ยว หรือเป็นช่อประมาณ 3 -7 ดอก ออกจากโคนกาบใบ ก้านช่อดอกกลม มีกาบรองดอกรูปเรือรองรับดอกย่อย แต่ละดอกประกอบด้วยกลีบเลี้ยงรูปหอกแคบยาว 3 กลีบ และกลีบดอกรูปหัวลูกศร 2 กลีบ ส่วนปลายกลีบห่อติดกัน มีเกสรเพศผู้และเพศเมียอยู่ภายใน ตอนปลายสุดของหัวลูกศรมียอดเกสรเพศเมียสีน้ำตาลยื่นออกมา เมื่อดอกบานเต็มที่มีความยาว 8 - 12 ซม. ทยอยบานจากโคนช่อไปปลายช่อ ผลมีรูปรี จะแห้งและแตก ภายในมีเมล็ด 3 เมล็ด รูปกลม มีเปลือกหนาสีดำ







          “ปักษาสวรรค์” มีชื่อสามัญว่า Bird of Paradise มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาใต้ ปักษาสวรรค์มีอยู่หลายชนิด แต่ที่นิยมปลูกกันมากมี 2 ชนิดคือ Strelitzia reginae (ดอกสีส้ม) และ Strelitzia Nicolai (ดอกสีขาว)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะต้น มี 2 ชนิดคือ
1.  ชนิดที่ไม่มีลำต้นอยู่เหนือพื้นดิน ต้นเป็นหัวหรือเหง้าเจริญอยู่ใต้ดิน มีแต่ก้านใบและตัวใบโผล่ขึ้นมาเท่านั้น ก้านใบมีสีแดงคล้ำ โผล่ขึ้นมาเหนือดิน ใบเป็นใบเดี่ยว เป็นอิสระแต่มักรวมกลุ่มกันขึ้นเป็นกอ สูงประมาณ 5-6 ฟุต เช่น Strelitzia reginae, Strelitzia parvifolia เป็นต้น
2.  ชนิดที่มีลำต้นอยู่เหนือพื้นดินเห็นได้ชัดเจน มีลำต้นสูง ใบคล้ายกล้วยพัด บางชนิดสูงถึง 30 ฟุต ใบยาว 6 ฟุต ชนิดนี้ในเมืองไทยขณะนี้ที่มีต้นใหญ่ๆ และมีดอกหาดูได้ยาก เช่น Strelitzia Nicolai, Strelitzia alba เป็นต้น
ใบ  มีสีเขียวเข้ม เนื้อใบเปราะกระด้าง มีเส้นใบย่อยขวางกับใบเป็นเส้นบรรทัดตามแนวเฉียง ใบรูปรีขอบขนาน ปลายใบแหลม ริมใบเรียบเกลี้ยงไม่มีจัก โคนใบเรียวสอบเข้าหาก้านใบ ก้านใบในช่วงต่อรับจากใบเป็นก้านมนกลม ในช่วงเหนือดินราว 1 ฟุต ก้านใบจะแผ่แบนโค้งเข้าหากันเป็นลักษณะกาบ ก้านใบยาวประมาณ 2-3 ฟุต ช่วงใบยาวประมาณ 1-2 ฟุต ขนาดใบกว้างประมาณ 3-4 นิ้ว
ดอก  ปักษาสวรรค์จะเริ่มให้ดอกเมื่ออายุประมาณ 3-6 ปี แต่จะไม่ออกดอกจนกระทั่งมีใบอย่างน้อยที่สุดจำนวน 10 ใบ เมื่อออกดอกปักษาสวรรค์จะแทงก้านดอกเป็นลำกลมขึ้นมาจากกาบโคนใบ สูงมาเหนือกอดอกออกเป็นช่อในส่วนปลายของก้านดอก ดอกปักษาสวรรค์ช่อหนึ่งๆจะมีดอกรวมอยู่ในกาบรองดอกเดียวกันตั้งแต่ 3-7 ดอก กาบรองดอกมีลักษณะคล้ายกาบของปลีกล้วย สีของดอกและกาบรองดอกนี้ในแต่ละพันธุ์จะมีสีที่แตกต่างกันออกไป ในดอกหนึ่งๆ ประกอบด้วยกลีบดอกรูปใบหอกปลายแหลม 3 กลีบ กลีบหนึ่งๆ ยาวประมาณ 2.5-3 นิ้ว เกสรตัวผู้มีลักษณะคล้ายหัวลูกศรตอนปลายสุดของท่อเกสรตัวผู้เป็นส่วนของเกสรตัวเมียซึ่งมีสีน้ำตาลอ่อนมองคล้ายลักษณะของส่วนแหลมที่สุดของปลายลูกศรนั่นเอง ดอกปักษาสวรรค์ ช่อหนึ่งๆ เมื่อบานเต็มที่จะยาวได้ตั้งแต่ 4-8 นิ้ว ลักษณะการบานของปักษาสวรรค์คล้ายนกเกาะหรือลักษณะของการกรีดนิ้วมือ ดอกจะบานจากโคนไปหาปลาย
เมล็ด  กลม เปลือกหนา ผิวเรียบเป็นมัน
การขยายพันธุ์  แยกหน่อหรือเพาะจากเมล็ด (ถ้าต้องการจำนวนต้นมาก) วิธีการให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น โดยการนำเมล็ดแช่ในน้ำร้อน 100°c เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ก่อนนำไปปลูก 7-10 วัน
สภาพดินฟ้าอากาศที่ชอบ  ปักษาสวรรค์ชอบขึ้นในที่กลางแจ้ง ต้องการแสงมากตลอดทั้งวัน ลมสงบต้องการน้ำในปริมาณที่พอเหมาะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำดี และดินที่มีปุ๋ยธรรมชาติ เช่น ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก









ที่มา
http://board.postjung.com/540748.html
http://www.thaikasetsart.com/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%89/